เค้กลาวา “น่าทานจังเลย”

วิธีทำผัดไทยอร่อยๆค่ะ

วิธีทำยำสลัดไทยมาแล้วค่ะ

ขนมดังโงะ

 

ดังโงะ ขนมที่คนญี่ปุ่นรับประทานกันมานานหลายร้อยปี จัดอยู่ในประเภทขนมวะงะฌิ ที่เรียกว่านะมะงะฌิ เช่นเดียวกับ มังจู (ขนมปังไส้แยมถั่ว) โยคัง (ขนมถั่วแดงกวน) ไดฟุคุ และโอะฮะงิ ส่วนผสมหลัก ๆ คือ อัง (แยมถั่ว) น้ำหวานเหนียว ๆ ทำจากถั่วแดง น้ำตาล และน้ำ รวมทั้งข้าวสาลี และแป้งข้าวเจ้าด้วย ดังโงะมักนิยมทำไส้ถั่วแดง นำไปเสียบไม้ ไม้ละ 3-5 ลูก ดูราวกับลูกชิ้นปิ้ง เป็นของว่างที่เหมาะกินคู่กับชาเขียว เพราะรสชาติหวาน ๆ ของถั่วแดงเข้ากันได้ดีกับความขมของชาเขียว บ้างก็ทาด้วยซอสโชยุ แล้วนำไปย่างไฟจนหอม   ความเป็นมาของขนมดังโงะไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ในสมัยเฮอันมีขนมที่มาจากเมืองจีนชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกว่า “ดังคิ” มีหน้าตาคล้ายกับขนมดังโงะในปัจจุบันมาก จึงสันนิษฐานว่าอาจพัฒนามาจากขนมชนิดนี้ก็เป็นได้ ปัจจุบันดังโงะได้กลายเป็นขนมยอดนิยมที่มีอยู่ทั่วทุกที่ในญี่ปุ่น และในแต่ละท้องถิ่นก็มีดังโงะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่าง “มิตะระฌิดังโงะ” ของจังหวัดกิฟุ ก็เป็นดังโงะแบบเสียบไม้ที่มีรสชาติไม่หวานจัด “โฌยุดังโงะ” ไส้ถั่วแดงทาด้วยโฌยุรสเปรี้ยว ทำให้ดังโงะมีรสหวานอ่อน ๆ เป็นต้น

แม้จะมีขนม หรือของว่างสมัยใหม่มากมายในท้องตลาด แต่ดังโงะก็ยังเป็นขนมที่มีความหมาย และความสัมพันธ์กับประเพณีอยู่มาก ทั้งยังทำหน้าที่สะท้อนประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นอยู่อย่างเงียบ ๆ คุณค่าทางจิตใจเหล่านี้ไม่มีวันที่ขนมสมัยใหม่จะเทียบได้ ดังโงะจึงเป็นขนมขวัญใจที่คนญี่ปุ่นนิยมซื้อหาไปเป็นของฝากอยู่เสมอ ๆ

 

ไดฟูกุ

ไดฟูกุโมจิ (大福餅) มีความหมายว่า “โชคดี” ซึ่งคำว่าฟูกุในภาษาญี่ปุ่นนั้นแปลว่า”โชคดี” ชาวญี่ปุ่นในอดีตเรียกไดฟูกุโมจิ (大福餅) ว่า “ฮาราบุโตะโมจิ (腹太餅)” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น “ไดฟูกุโมจิ (大福餅)” ในปลายศตวรรษที่ 18 โดยชาวญี่ปุ่นเริ่มให้ความนิยม และรับประทานกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการอวยพรในเทศกาลมงคลต่างๆ

คนไทยเราชอบเรียกว่าโมจิไส้ถั่วแดง แต่จริงๆเขาเรียกขนมประเภทนี้ว่าไดฟุกุ แป้งด้านนอกทำจากแป้งข้าวเหนียวนึ่งที่นำมาตีจนเหนียว (โมจิ) มีสีขาว เขียวและชมพู ส่วนไส้ก็เป็นถั่วแดง ที่พิเศษก็จะใส่ผลไม้ลงไป เช่น อิจิโกะ ไดฟุกุ (Ichigo Daifuku)เป็นโมจิไส้ลูกสตรอร์เบอร์รี่หอมหวาน

ราเมน

ความเป็นมาของราเมน เริ่มเข้ามาที่ญี่ปุ่นในยุคเมจิที่ 19 ในยุคนั้นจะเรียกบะหมี่ว่า ชินะโซบะ (支那そば) หมายถึง โซบะของจีน ต้นตำรับบะหมี่ของจีนใช้ชื่อว่า ลาเมียน (拉麺) มีความหมายคือ การดึงเส้นด้วยมือ แต่เพราะว่า ภาษาญี่ปุ่น ไม่มีเสียง L จาก Lamen จึงเพี้ยนเปลี่ยนมาเป็น Ramen แทน และราเมนนั้นเพิ่งเริ่มได้รับความนิยมในตอนเริ่มแรกของยุคโชวะและได้กลายเป็นอาหารนอกบ้านที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนั้น ต่อมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองได้จบลงไป สหรัฐได้นำสินค้าเข้ามาในญี่ปุ่นก็คือ แป้ง นั่นแหละ นำเข้ามามากจนล้นตลาดเลยทำให้แป้งมีราคาถูกมาก ด้วยโอกาสที่ราเมนยังคงเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอยู่ บวกกับเหล่าทหารที่เพิ่งกลับมาจากจีนและคุ้นเคยอาหารจีนอยู่แล้วด้วย แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องออกไปทานราเมนนอกบ้านอยู่ดี จึงทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เพียงแค่เติมน้ำร้อนลงไปที่บะหมี่ไม่กี่นาทีก็สามารถทานได้แล้วนั้น ถูกคิดค้นและผลิตออกมาเป็นครั้งแรกในปี 1958 โดย Momofuku Ando ผู้ก่อตั้งบริษัท Nissin Foods อันโด่งดังที่ญี่ปุ่นนั่นเอง หลังจากนั้นในช่วงปี 1980 ราเมนก็ได้กลายเป็นที่รู้กันว่าเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้วทั่วโลก

เทมปุระ

เทมปุระหรืออาหารทะเลชุบแป้งทอด ของญี่ปุ่นนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่อาหารดั้งเดิมของญี่ปุ่นแต่มีที่มาจากปลาชุบแป้งทอด ของชาวโปรตุเกสซึ่งนิยมกินกันใน วันถือศีลทุกวันศุกร์หรือที่ เรียกกันว่า Friday Fish Fry แม้ว่าเทมปุระจะไม่ได้มีต้นกำเนิดโดยชาวญี่ปุ่นก็เถอะ แต่ชาวญี่ปุ่นก็สามารถทำให้เทมปุระ กลายมาเป็นอาหารจานเอกลักษณ์ของ ชาวซากุระได้ เพราะมีวิธีการปรุง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เริ่มตั้งแต่แป้งที่ต้องบางฟู ไม่ชุ่มน้ำมัน อาหารทะเลที่จะนำมาชุบแป้งก็คัดที่สดๆเท่านั้น

ซุปญี่ปุ่น

ชิรุโมโนะหมายถึง อาหารประเภทน้ำแกงหรือน้ำซุปค่ะ คำว่า “ชิรุ” (汁 – Shiru) คือ น้ำซุป ส่วน “โมโนะ” (物 – Mono) หมายถึงสิ่งของ ในสำรับกับข้าวของชาวญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันนี้ น้ำซุปจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย น้ำซุปถือเป็นสิ่งสำคัญมากในอาหารญี่ปุ่น ซึ่งน้ำซุปเองก็มีหลายประเภทต่างกันไปค่ะ เช่น มิโซะซุปสำหรับทานในมื้อเช้า หรือซุปใสสำหรับทานกับอาหารเย็น แต่ก็ไม่ใช่ข้อบังคับอะไร ชอบซุปแบบไหนก็เลือกทานกันตามใจได้เลยค่ะ

ซูชิ

 ซูชิ หรือ ข้าวปั้นมีหน้า เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือ ของคาวชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเลผักไข่เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น และซูชิส่วนใหญ่มักใส่วาซาบิ บนข้าวเพื่อให้ได้ความอร่อยมากยิ่งขึ้น

ทาโกยากิ

“ทาโกะยากิ” (Takoyaki) เป็นชื่อของอาหารญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง บางทีภาษาไทยก็เรียกกันว่า “ขนมครกญี่ปุ่น”  ทาโกะยากิมีต้นกำเนิดมาจากเมืองโอซาก้าประเทศญี่ปุ่น และเป็นอาหารยอดนิยมในแถบคันไซซึ่งหากดูตามรายการเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นเหมทาโกะยากิเป็นอาการที่ได้รับความนิยมในงานเทศกาลต่างๆ อย่างไรก็ตามตามร้านอาหารญี่ปุ่นก็มักจะมีเมนูทาโกะยากิเป็นอาหารทานเล่นเช่นกัน
     ลักษณะของทาโกะยากิ (โดยส่วนใหญ่) จะเป็นลูกกลมๆทอดจนเป็นสีน้ำตาลราดด้วยซอสและมายองเนสแล้วโรยหน้าด้วยผงสาหร่ายและแผ่นปลาแห้ง  ส่วนผสมของทาโกะยากินั้นจะประกอบด้วยน้ำแป้ง, ขิงดอง, แป้งทอด, หอมสับ , แล้วก็ที่ขาดไม่ได้คือหนวดปลาหมึกยักษ์ (Tako) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อทาโกะยากินั่นเอง และอีกคำหนึ่งคือ “Yaki” ก็แสดงถึงวิธีทำก็คือการเอาส่วนผสมเหล่านี้ลงไปทอดในกระทะที่มีลักษณะเป็นหลุมนั่นเอง

Previous Older Entries